
❌ไม่ได้เรียนในเรื่องที่จำเป็น
เด็กไทยต้องเรียนทุกเรื่อง แต่เด็กที่อื่นเรียนแค่เรื่องที่จำเป็น
อย่าง วิชาคณิต ระดับ ม.ต้น
เด็กไทยต้องเรียนตั้งแต่คูณร่วมน้อย หารร่วมมาก อัลกอริทึ่ม ตรีโกณมิติ
เรียนไปโดยที่ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้อะไร
ในขณะที่ ที่อื่นเรียนแค่บวก ลบ คูณ หาร แก้สมการ เท่านั้น
แต่สามารถเอาไปใช้ได้ในชีวิตจริง
.
❌ไม่ได้เรียนในเรื่องที่ชอบ
มีคำพูดที่ว่า ‘เด็กไทยเรียนเป็นเป็ด’
เพราะเน้นเรียนให้รู้ทุกอย่าง แต่ไม่เก่งสักอย่าง
ในขณะที่บางประเทศได้เรียนแบบเจาะลึก
โดยเฉพาะ ม.ปลาย ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
จะสามารถเลือกเรียนวิชาที่ตัวเองสนใจ
อย่าง วิชากฎหมาย วิชาทดลองวิทยาศาสตร์
แบบที่เป็นการเตรียมพร้อมไปสู่อาชีพที่อยากทำจริงๆ
.
❌ไม่มีโอกาสได้ทำกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียน
เด็กไทยเรียนในโรงเรียน 8 – 10 คาบ ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น แล้วต้องรีบไปเรียนพิเศษต่ออีก จะเอาเวลาที่ไหนไปทำกิจกรรม ส่วนประเทศอื่นที่เรียนน้อยกว่า เลิกเร็ว มีเวลามากมายให้เข้าชมรม ทำกิจกรรมที่สนใจ ทั้งดนตรี กีฬา ศิลปะ ถึงแม้จะไม่ใช่วิชาการ แต่ก็ช่วยเสริมทักษะด้านอื่น ทั้งความรับผิดชอบ การเข้าสังคม แถมยังช่วยบำบัดจิตใจ และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วย
.
❌ไม่เลิกเรียนแบบท่องจำ
คำพูดติดปาก เด็กไทยท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง
แต่พอผ่านวันสอบไปก็ลืมแล้ว ต่างกับที่อื่นที่ไม่เน้นท่องจำเท่าไร
แต่เน้นทักษะการคิด วิเคราะห์ หรือ Critical Thinking
เด็กๆ สามารถตั้งคำถาม หาคำตอบด้วยตัวเอง
ซึ่งเป็นทักษะที่หลายคนขาดและจำเป็นอย่างมาก ในศตวรรษที่ 21
.
❌ไม่เลิกให้ความสำคัญกับคะแนนสอบ
การเรียนแบบไทยๆ เน้นมากเรื่องการแข่งขัน จัดอันดับ
คะแนนคือทุกอย่าง เด็กเรียนเพื่อไปสอบ
แต่ไม่ได้เรียนเพื่อรู้ อย่างแท้จริง
หลายคนแค่ก้าวออกจากห้องสอบก็คืนครูหมด
เลยมีแต่เกรด ไม่มีความรู้
ส่วนชาติที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา
เกรดไม่ใช่ทุกอย่าง ไม่ให้ความสำคัญกับการจัดลำดับมากเท่าไร
แต่เน้นปลูกฝังให้เด็กรักการเรียนรู้ และมีทักษะเรียนรู้ตลอดชีวิต
.
เมื่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และความสำเร็จในชีวิต
ไม่ได้แปรผันตามจำนวนชั่วโมงเรียนอีกต่อไป
คงถึงเวลาต้องทบทวน และเปลี่ยนใหม่
เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่าในการพัฒนา ‘คน’
ซึ่งเป็นกำลังหลักของการพัฒนาประเทศในอนาคต.
.